วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 7 Tuesday, September 22, 2558

Diary No. 7
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, September 22, 2558
Time 13.30 - 17.30 .

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

  • ทบทวนความรู้เดิม
  • ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
  • ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม การจัดการเรียนรู้
  1. เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก
  2. กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
       พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากัน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กว่าทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุของเด็ก  เมื่อครูทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูสามารถบอกได้ว่าเด็กๆนั้นมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง และที่สำคัญครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม
  • สมอง   แบ่งเป็น 2 ซีก


สมอง มี 4 ส่วน ทำหน้าที่ ดังนี้
  1. ส่วนหน้า  เกี่ยวกับการเรียนรู้ การคิด 
  2. ส่วนข้าง เกี่ยวกับการฟัง การได้ยิน
  3. ส่วนกลาง เกี่ยวกับการหายใจการเคลื่อนไหว
  4. ส่วนหลัง เกี่ยวกับ การทรงตัว การมองเห็น

   * การทำงานของสมอง

           การทำงานของสมอง คือ พัฒนาการที่มาจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน



* พัฒนาการสมองสัมพันธ์กับพัฒนาการสติปัญญาอย่างไร ?

                        ร่างกายจะรับรู้    แล้วส่งความรู้สึกไปยังสมอง   (พัฒนาการสมอง )   ส่งผลต่อพัฒนาการสติปัญญาทำให้เกิดการเรียนรู้
  • การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
                     การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์   ทุกคนล้วนมีการเรียนรู้เพื่อให้เราอยู่รอด สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
                  วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ  ตา - ดู  หู - ฟัง     จมูก - ดมกลิ่น  ลิ้น - ชิมรส กาย - สัมผัส   ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     มากยิ่งขิ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

กิจกรรมนำเสนองานคู่

  • เรื่องสัตว์
  • เรื่องพลังงานลม
  • เรื่องดินหินทราย
  • เรื่องพืช                                                                                       
วิธีการสอน :
- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียนพร้อมทั้งใช้คำถามทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ พัฒนาการทางสติปัญญา
-ให้นักศึกษาวิเคราะห์ของเล่นวิทยาศสาตร์ว่าสามารถสอนเรื่องใดได้บ้างที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

Skill (ทักษะที่ได้รับ )
- การคิดในการตอบคำถามก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ความรู้ที่ถูกต้อง
- การวิเคราะห์และดัดแปลงของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาตร์
- การสรุปองค์ความรู้(ลงบล็อกเกอร์) การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

Adoption ( การนำไปใช้ )

นำความรู้ไปใช้ในการจักกิจกรรมเพื่อให้เด็กนั้นเข้าใจวิทยาศาสตร์  โดยใช้ของเล่นวิทยาศาตร์หรือสื่ออื่นๆและทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด  เมื่อทราบถึงพัฒนาการของเด็กๆแล้วครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ และจัดวิธีการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

วัสดุอุปกรณ์พร้อม แต่อุณหภูมิเย็น

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ตอบคำถามได้

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจตอบคำถามและสามารถคิดหาคำตอบเกี่ยวกับกิจกกรมที่ทำได้

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

อาจารย์สอนดีมีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น  โดยการนำของเล่นวิทยาศาตร์มาใช้เป็นสื่อการสอน


  

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 6 Tuesday, September 15, 2558

Diary No. 6
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, September 15, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


  • หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • วิทยาศาสตร์

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

1.กีเซล (Gesell)


หลักการ

  • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและ เป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควร เร่งหรือบังคับ 
  • การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวการใช้ภาษาการปรับตัวเข้ากับสังคมและบุคคลรอบข้าง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • โครงสร้างของหลักสูตรยึดพัฒนาการเด็กคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์และประสบการณ์สําคัญ
  • ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก 
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวกิจกรรมเดี่ยว และกิจกรรมกลุ่ม 
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟังได้พูด ท่องคําคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน

2.ฟรอยด (Freud)


หลักการ

  • ประสบการณในวัยเด็กสงผลตอบุคลิกภาพของคนเรา เมื่อเติบโตเปนผูใหญหากเด็กไมไดรับการตอบสนอง อยางเพียงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับของใจ สงผลตอพัฒนาการของเด็ก
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • จัดประสบการณใหเหมาะกับวัย สอดคลองกับ พัฒนาการตามวัยใหไดรับหรือประทับใจในสิ่งดีๆ ใหเด็กรูสึกประสบความสําเร็จ มีความมั่นใจ ซึ่งจะเปน รากฐานไปตลอดชีวิต 
  • ครูเปนแบบอยางที่ดี ทั้งการแสดงออก ทาทีวาจา เชน การพูดคําสุภาพ การนั่งการเดิน ความมีระเบียบวินัย


3.อีริคสัน (Erikson) 

หลักการ
  • ถาเด็กอยูในสิ่งแวดลอมที่เด็กพอใจ ประสบผลสําเร็จ เด็กจะมองโลกในแงดีมีความเชื่อมั่นและไววางใจผู้อื่น
  • ถาเด็กอยูในสิ่ งแวดลอมที่ไมดีไมพอใจจะมองโลก ในแงรายขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไมวางใจผูอื่น 

แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก

  • จัดกิจกรรมใหเด็กมีโอกาสประสบผลสําเร็จโดยจัด กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยไมยากและมีใหเลือกตาม ความสามารถ หรือความสนใจ
  •  จัดบรรยากาศในหองเรียน ใหเด็กมีโอกาสสราง ปฏิสัมพันธที่ดีตอสภาพแวดลอม ครูและเพื่อน ๆ เชน จัดบรรยากาศใหอบอุน มีความสบายใจและเด็กไดทํากิจกรรมรวมกัน

4. เพียเจท (Piaget) 

หลักการ
  • พัฒนาการทางเชาวปญญาของเด็กเกิดจากการ ที่เด็ก มีปฏิสัมพันธกับสภาพแวดลอมรอบ ๆ ตัวเด็กมีการรับรูจากสิ่งแวดลอมใหมๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและ มีการปรับขยายประสบการณเดิม ความคิดและความ เขาใจใหขยายมากขึ้น 
  •  พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6)
  1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 - 2 ป เด็กเรียนรูทุกอยางทางประสาทสัมผัสทุกดาน
  2.  ขั้นความคิดกอนปฏิบัติการวัย 2 - 6 ปเริ่มเรียน ภาษาพูดและภาษาทาทางในการสื่อสารยึดตนเอง เปนศูนยกลางคิดหาเหตุผลไมไดจัดหมวดหมูได ตามเกณฑของตน 
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  •  จัดกิจกรรมใหเด็กไดใชประสาทสัมผัสทั้ง 5 เชน กิจกรรมสํารวจ ทดลองกิจกรรมการประกอบอาหาร ทัศนศึกษา
  •  จัดใหเด็กฝึกฝนทักษะสังเกตจําแนกเปรียบเทียบ เชน การเลนเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริงการ สํารวจทดลอง ทัศนศึกษา 
  • จัดใหเด็กไดเรียนรจากสิ่งที่อยูใกลตัวไปสูเรื่องไกลตัว เรียนรูจากหนวยตามความสนใจและเรียนรูจากสิ่งที่ เปนรูปธรรมกอน

5.ดิวอ ี้ (Dewey) 

หลักการ
  •  เด็กเรียนรูโดยการกระทํา 
  • การพัฒนาสติปญญาของเด็กจะตองฝกใหเด็กคิดแบบ วิทยาศาสตรและมีระบบ 

แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • จัดกิจกรรมใหเด็กลงมือปฏิบัติเพ ื่อใหเกิดการเรียนรู เชน กิจกรรมการสํารวจการทดลองการทัศนศึกษา จากประสบการณจริงการประกอบอาหาร สื่อวัสดุ 
  • จัดใหเด็กมีระบบการเรียนรูที่ดีเรียนรูและคนหา คําตอบดวยตนเองครูเปนเพียงที่ปรึกษา เชน กิจกรรม ทดลองในมุมวิทยาศาสตรการสํารวจและทัศนศึกษา 

6.สกินเนอร (Skinner) 

หลักการ
  •  ถาเด็กไดรับคําชมเชยและประสบความสําเร็จในการ ทํากิจกรรม เด็กจะสนใจที่ จะทําตอไป 
  •  เด็กแตละคนมีความแตกตางกัน ไมมีใครเหมือนใคร

แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  •  ใหแรงเสริมทางบวกเชน ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทํา กิจกรรมประสบผลสําเร็จ ปรับพฤติกรรมเด็กดวยการ เสริมแรงทางบวกเสริมแรงดวยทาทางของครูจัดแสดง ผลงานของเด็กทุกคนบนปายนิเทศ
  • ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแขงขันกันในการประเมิน ผลงานศิลปะของเด็กไมใหคะแนนหรือดาวแตติดตาม ผลงานเด็กแตละคนเพื่อสังเกตพัฒนาการและความ กาวหนา

7.เปสตาลอซี่
หลักการ
  • ความรักเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเด็ก 
  • เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนด้วยการท่องจำ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก

 8.เฟรอเบล (Froeble)
หลักการ
  • ควรสงเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กดวยการ กระตุนใหเกิดความคิดสรางสรรคอยางเสรี 
  • การเลนเปนการทํางานและการเรียนรูของเด็ก 

แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  • จัดกิจกรรมเรียนรผู านการเลนที่หลากหลายและเปน การเลนที่มีจุดมุงหมายใหเด็กเลือกเลนได้ตามความสนใจ
  •  จัดกิจกรรมที่เปดโอกาสใหเด็กคิดสรางสรรคและได พัฒนาทักษะดานตางๆ ตามความสามารถของแตละ บุคคล

9.เดวิด เอลคายน์ (David Eldind)

หลักการ
  •  การเรงสอนอานเขียนขณะที่เด็กยังไมพรอมจะเกิด ผลเสียตอเด็กทั้งในระยะสั้น และระยะยาว -ระยะสั้น คือเครียดเปนทุกขในการเรียน -ระยะยาวคือ สูญเสียบุคลิกภาพ เกิดเจตคติไมดีตอการเรียน
  •  เด็กควรมีโอกาสเลนและเลือกกิจกรรมการเลนดวย ตนเอง

แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก
  •  ไมสอนหนังสือเมื่อเด็กยังไมพรอม
  •  จัดบรรยากาศในหองเรียนใหเด็กมีโอกาสเลือกเลน และทํากิจกรรมตามความสามารถความตองการและ ความสนใจ 



วิทยาศาสตร์
*ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์ คือ การสืบค้นการทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงซึ่งทำให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

* แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 1. การเปลี่ยนแปลง 
2. ความเเตกต่าง 
3. การปรับตัว
 4. พึงพาอาศัย 
5. สมดุล 

*การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
1. ขั้นกำหนดปัญหา 
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3. ขั้นสอบสวน 
4. ขั้นสรุป 

*เจตคติวิทยาศาสตร์ 
1. ความอยากรุ้อยากเห็น
 2. ความเพียรพยายาม
 3. ความมีเหตุผล
 4. ความซื่อสัตย์
 5. ความใจกว้าง 
6. ความมีระเบียบรอบคอบ

*การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คือ 
  1. การเรียนรู้ปฎิบัติจริง
  2.  เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
  3. พัฒนาทักษะการสังเกตการสรุปความคิดรวบยอด 
  4. กิจกรรมโครงการ กิจวัตรประจำวัน (6 กิจกรรม )

*พัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย  คือ การเรียนรู้อย่างมีความสุข 
  1. การคิดปฎิบัติจริง 
  2. การเรียนรูแบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน 
  • การคิดปฎิบัติจริง


  1. การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
  2. เรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
  3. พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์  
  4. กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน

  • การเรียนรูแบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน 


  1. กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
  2. ครูผู้สอน หรือผู้ดูแลเด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์
  3. ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  4. ประสบการณ์ต่างๆสัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ

สรุป พัฒนาเด็กครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองเเละอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
 กิจกรรมต้อมมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวเเละชุมชน

กิจกรรมนำเสนอบทความ




Skill (ทักษะที่ได้รับ )
- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น
-การคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามก่อนเรียน-ระหว่างเรียน

Adoption ( การนำไปใช้ )

-ทราบถึงหลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก   ความหมายของวิทยาศาสตร์เราก็จะสามารถจัดกิจกรรมและวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมได้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อม บรรยากาศเย็น

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน และตั้งใจตอบคำถาม

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

สอนโดยใช้เทคโนโลยีได้ดี กระตุ้นให้นักศึกษาตอบ โดยไม่กดดัน 
  

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู


     
          เทคนิคการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่อง "สารและสมบัติของสาร" (ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ) ของ อ.นิตยา คงพันธุ์ รร.วัดประยุรวงศาวาส โดยเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร และการถ่ายโอนความร้อน โดยใช้สื่อการเรียนการสอนแบบท้องถิ่น ขนมฝรั่งกุฎีจีน มรดกท้าวทองกีบม้า

สรุป  อาจารย์นำวิธีการสอนเชิงบูรณาการมาใช้  โดยเริ่มต้นให้เด็กได้เรียนรู้ประวัติต่างๆ เช่น ประวัติชุมชน จากปราชญ์ชาวบ้าน ให้เด็กได้ดูวิธีการทำขนมฝรั่งกุฎีจีนที่เป็นของจริง   เด็กๆจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสสารจากวัตถุดิบมาเป็นขนม
  • ของแข็ง ได้แก่  น้ำตาล แป้ง ของแต่งหน้า เช่น ลูกเกด  ลูกพลับ
  • ของเหลว ได้แก่ ไข่เป็ด
เมื่อเด็กเรียนรู้แล้ว อาจารย์จะทำการวัดความรู้ความเข้าใจอีกครั้ง  โดยให้เด็กๆทำการมทดลองจริง โดยแบ่งเด็กเป็น สามกลุ่ม เพื่อทำการทดลองในเรื่องของปริมาณของสัดส่วนที่นำมาผสม  อุณหภูมิและเวลา  รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาเป็นแม่พิมพ์  เพื่อหาค่าที่เหมาะสมในแต่ละประเภท หลังจากนั้นก็จะเปิดโอกาสให้เด็กๆได้มารายงานสรุปผลการทดลองของกลุ่มตัวเอง

การสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กมี 
  1. ความรู้
  2. กระบวณการวิทยาศาสตร์
  3. จิตวิทยาศาสตร์

Diary No. 5 Tuesday, September 8, 2558



Diary No. 5
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, September 8, 2558
Time 13.30 - 17.30 .
     ( อ้างอิงมาจาก  บล็อกเกอร์ของ นางสาวปาริฉัตร ภู่เงิน  เนื่องจากลากิจ )


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


ทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก



  • เพียเจต์ กล่าวว่า เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • จอนด์ ดิวอี้ กล่าวว่า เด็กเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ

  • กิจกรรม คุณครูให้เพื่อนร่วมกันคิดสร้างสรรค์ผลงานของเล่นจากกระดาษ A4 โดยให้พับเป็นของเล่นที่ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านวิชาวิทยาศาสตร์ และให้นักศึกษาอธิบายเเนวมางการสอนโดยการสอนจากของเล่นที่ตนเองได้ประดิษฐ์ขึ้น


Skill (ทักษะที่ได้รับ)

  ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น

Adoption( การนำไปใช้)

    ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้โดยการทำกระดาษให้เป็นของเล่นทางวิชาวิทยาศาสตร์ได้


classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

       เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศค่อนข้างเย็น เเต่ไม่ม่โต๊ะในการนั่งเขียน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

        ไม่ได้มาเรียนจึงทำให้พลาดกิจกรรมที่สำคัญต่างๆในห้องเรียน

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

       เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

       เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน

สรุปวิจัย เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน








ชื่องานวิจัย  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน 

ผู้ทำการวิจัย  สุมาลี   หมวดไธสง

มหาวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ


บทที่ 1 บทนํา 
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
         การวิจัยครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด้กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนแบบการจัดกิจกรรมให้ผู้ดูแลและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็กต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
  2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ขอบเขตของการศึกษา


  1.  กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  จํานวน 180 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยสุ่มมา  1  ห้องเรียน จำนวน 30
  2. ตัวแปรที่ศึกษา  
  • ตัวแปรอิสระ
  • กิจกรรมกระบวนการการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
  • ตัวแปรตาม
  • ความสามารถในการคิดวิเคราะห์






บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษา และค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารและตําราต่างๆ พร้อมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้คือ

  1. การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  2. การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนหรือนอกสถานที่
  3. การคิดวิเคราะห์
สรุปได้ว่า  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว เด็กจะได้รับประสบการรณ์ตรงและส่งเสริมทักษะความสามารถด้านประสาทสัมผัส  อีกทั้งยังสามารถพัฒนาความคิดวิเคราะห์ให้มีระบบแบบแผน

บทที่ 3
วิธีดําเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมทางคณิตศาสตร์ สําหรับเด็กปฐมวัย โดยกําหนดขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  จํานวน 180 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยสุ่มมา  1  ห้องเรียน จำนวน 30
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

  1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
  2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 

  • การจัดหมวดหมู่
  • การหาความสัมพันธ์
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  1. สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา   8 สัปดาห์ 
  2. นำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
  3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที
  4. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดสอบอีกครั้ง
  5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการทดลอง
4. การวิเคราะห์ข้อมูล 
  1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองT-Test แบบ  Dependent Samples 



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  1. ผลการศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01


บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ



               การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
                กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  จํานวน 180 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยสุ่มมา  1  ห้องเรียน จำนวน 30
                 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่   แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และแบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (การจัดหมวดหมู่ , การหาความสัมพันธ์ )


สรุปผลการศึกษา

  1. ผลการศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01





การนำไปประยุกต์ใช้

*การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
              กระบวนการทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นประเด็นที่สำคัญต่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ให้เด็ก คือ การเปิดโอกาสให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการสัมผัส จับต้อง ดม ชม ได้ยินโดยในการสังเกต การสำรวจ การค้นคว้า การทดลอง หรือจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ด้วยก็ได้(การกำหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการสรุปผลประเมินผล) หรือจะการถามคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กได้รับด้วย เพราะจะทำให้เด็กมีพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบได้
               การที่พาเด็กไปศึกษาเรียนรู้ดูชีวิตจริง สถานที่จริงนั้นเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงกับสถานที่และสิ่งที่ไปศึกษาจริง แล้วจะทำให้เด็กยังได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขว้าง เกิดความสนุกสนานตื่นเต้นอีกด้วย
               การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนนั้นมีหลายขั้นตอน ดังนั้นควรพิจารณาองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงวัย และในการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องจัดให้หลากหลายครอบคลุมกับองค์ประกอบของกิจกรรม แต่ในทั้งนี้การจัดกิจกรรมให้กับเด็กก็จะต้องควรคำนึงถึงความสนใจ ความพร้อม และความสามรถของเด็กด้วย



*ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐาน

  • การสังเกต (Obervation)
  • การวัด (Measurenent)
  • การจําแนกประเภท (Classification)
  • การหาความสัมพันธ์ระหวางสเปสกับสเปสและสเปสกบเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
  • การคํานวน(Using Number)
  • การจัดทําและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
  • การลงความคิดเห็นจากข้อมูล(Infeaing)
  • การพยากรณ์(Prediction)
*ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพัฒนาการ

  • การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
  • การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
  • การกาหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
  • การทดลอง(Experiment)
  • การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making


*การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่

เป็นการจัดประสบการณ์การศึกษานอกห้องเรียน ทําให้เด็กได้ศึกษาจากสภาพจริงจากสภาพจริง สถานที จริง การออกไปสัมผัสพบสิ งเหล่านี 0 ทําให้เด็กสนุกสนาน อย่างไม่รู้จักเบื อหน่าย ได้รับความรู้และจดจําได้นาน


*คุณค่าของการจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่


  • ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง
  • ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์
  • ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา
  • ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน
  • ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ
  • การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่
                      การศึกษานอกสถานที่ในระยะใกล้
                      การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางขนาดกลาง
                      การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางไกล




วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 4 Tuesday, September 1, 2558


Diary No. 4
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, September 1, 2558
Time 13.30 - 17.30 .

Story of subject  (เนื้อหาที่สอน )

          อาจารย์ให้เข้าร่วมการอบรมของคณะศึกษาศาสตร์ เรื่องทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บรรยายโดย ดร.อภิภู   สิทธิภูมิมงคล  จากมหาวิทยาลัยมหิดล

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร

  • สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้



  • สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
  1. ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
  2. ศิลปะ
  3. คณิตศาสตร์
  4. การปกครองและหน้าที่พลเมือง
  5. เศรษฐศาสตร์
  6. วิทยาศาสตร์
  7. ภูมิศาสตร์
  8. ประวัติศาสตร์


              โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้



  • ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
  1. ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
  2. ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
  3. ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
  4. ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
  5. ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
  • ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
  1. ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
  3. การสื่อสารและการร่วมมือ
  • ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
  1. ความรู้ด้านสารสนเทศ
  2. ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
  3. ความรู้ด้านเทคโนโลยี
  • ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
  1. ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
  2. การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
  3. ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
  4. การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
  5. ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21




  • ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
  • 3R คือ 
  1. Reading (อ่านออก), 
  2. (W)Riting (เขียนได้), 
  3. และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
  • 7C ได้แก่
  1. Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
  2. Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
  3. Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
  4. Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
  5. Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
  6. Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  7. Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
  • ความรู้เพิ่มเติม
  1. การสร้างบัญชีในยูทูป เพื่อการค้นหาวิดิโอที่เคยดูมาแล้วซึ้งจะทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
  2. การใช้โปรแกรมตัดต่อการ์ตูน (crazy taik animater)
  3. การใช้ภาพสื่อความหมาย (อินโฟกราฟฟิค)


สรุป


  • การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง

       นิทรรศการคณะศึกษาศาสตร์ มีทั้งหมด 4 สาขา ได้เเก การศึกษาปฐมวัย พละศึกษา เทคโนโลยี เเละจิตวิทยา




Skill (ทักษะที่ได้รับ)

ทราบถึงวิธีการสอน ทักษะต่างๆของครูที่ควรจะเป็นใน“ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”
Adoption( การนำไปใช้)
ครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้

Atmosphere (บรรยากาศ)

มีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างมากมายทั้งยังมีอาหารให้รับประทานตอนพักด้วย สื่อเทคโนโลยีใช้ได้ดี

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

ตั้งใจอบรม แต่งกายถูกระเบียบ

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนๆเข้าร่วมอบรมครบทุกคน

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย และร่วมอบรมกับนักศึกษาด้วย