วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 11 Tuesday, October 27, 2558

Diary No. 11
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, October 27, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  1. กิจกรรมทดลองสี  (ดอกไม้ลอยน้ำ)
  2. กิจกรรมรูไหนไกลกว่า
  3. กิจกรรมแรงดันน้ำ ( น้ำพุ )
  4. กิจกรรมเป่าเชือกในหลอด
  5. กิจกรรมลูกยางกระดาษ(แรงดันอากาศ)
  6. กิจกรรมกระจกเงาสะท้อน(การสะท้อนของกระจก)
  7. กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ
  8. กิจกรรมกระจกสะท้อนบนเรือ

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
  • กิจกรรมทดลองสี  (ดอกไม้ลอยน้ำ)
อุปกรณ์
  1. กระดาษA4
  2. สีเมจิก
  3. กรรไกร
  4. ถาดใส่น้ำ(ใส่น้ำด้วย)

           แบ่งกระดาษA4 เป็นส่วนๆให้เท่ากันหลังจากนั้นให้ตัดเป็นรูปดอกไม้ตามใจชอบ แล้วระบายสีให้สวยงาม และพับกลีบของดอกไม้เข้าตรงกลางของดอกไม้ แล้วนำไปลอยในถาดน้ำ   หลังจากนั้นสังเกตและบันทึกผล


สรุป
      ดอกไม้ที่พับไว้สามารถบานได้ เพราะ กระดาษดูดซึมน้ำ 
  1. เมื่อกระดาษดูดซึมน้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่ช่องว่าง ทำให้กระดาษขยายตัว และเมื่อน้ำโดนสี สีก็จะเกิดการละลายผสมกับอีกสีกลายเป็นสีใหม่
  2. ขนาดของดอกไม้มีผลต่อการบานของกลีบดอกไม้
            *กลีบดอกใหญ่จะบานช้า และกลีบดอกเล็กจะบานเร็ว 

  • กิจกรรมรูไหนไกลกว่า
อุปกรณ์
  1. ขวดสำหรับใส่น้ำเจาะรู 3 รู
  2. ผ้าเทปสำหรับปิดรู
  3. เหรียญ10บาท  เหรียญ5บาท   เหรียญ1บาท
  4. ถาดรองน้ำ



          ใส่น้ำลงไปในขวดแล้วปิดรูทั้ง3รูด้วยผ้าเทป   หลังจากนั้นให้ดึงผ้าเทปออก ต่อด้วยนำเหรียญไปวางไว้ตรงจุดที่น้ำพุ่งออกมาจากขวด ดังนี้ เหรียญ10บาทตรงจุดด้านล่าง  เหรียญ5บาทตรงจุดตรงกลาง   เหรียญ1บาตรงจุดด้านบนที่น้ำพุ่งมา
สรุป
       จุดที่อยู่สูงจะมีแรงดันน้ำน้อย ทำให้น้ำพุ่งเบาที่สุด 
       จุดที่อยู่ล่างจะมีแรงดันน้ำมาก ทำให้น้ำพุ่งแรงที่สุด
  • กิจกรรมแรงดันน้ำ ( น้ำพุ )
อุปกรณ์
  1. ขวดต่อสายน้ำพุ
  2. ถาดรองน้ำ





        นำน้ำใส่ขวดที่ต่อสายน้ำพุไว้แล้วสังเกตว่าเมื่อยกขวดที่ใส่น้ำขึ้นที่สูงเท่าไหร่น้ำจะไหลพุ่งมากเท่านั้น

สรุป
         น้ำไหลจากที่สูงจะลงสู่ที่ต่ำ 


  • กิจกรรมเป่าเชือกในหลอด
อุปกรณ์
  1. เชือก
  2. หลอด



       นำเชือกร้อยเข้าไปในหลอดแล้วผูกปลายเชือกเข้าด้วยกัน  หลังจากนั้นให้เป่าหลอด สังเกตการเคลื่อนตัวของเส้นเชือก
สรุป
      เมื่อเราเป่าลมเข้าไปในหลอดจะสามารถทำให้เส้นเชือกเคลื่อนที่เป็นวงได้ เพราะลมมีแรงดัน

  • กิจกรรมลูกยางกระดาษ(แรงดันอากาศ)
อุปกรณ์
  1. กระดาษ
  2. คลิปหนีบกระดาษ

       พับกระดาษให้มีลักษณะคล้ายลูกยางดังรูป  แล้วโยนขึ้นข้างบนปล่อยให้ลูกยางกระดาษตกลงสู่พื้น พร้อมสังเกตการเคลื่อนที่ของลูกยางกระดาษ

สรุป
        เมื่อเราโยนลูกยางกระดาษขึ้นข้างบน แล้วปล่อยให้ลูกยางตกลงสู่พื้น อากาศจะเคลื่อนที่เข้ามาพยุงตรงปีกของลูกยางกระดาษไว้ ทำให้ลูกยางลอยอยู่ในอากาศได้


  • กิจกรรมกระจกเงาสะท้อน(แสงและการมองเห็น)
อุปกรณ์
  1. กระจกเงา 2 ด้าน
  2. ภาพ



        เมื่อเรานำกระจกมาทำคล้ายสามเหลี่ยมและนำภาพไว้ตรงกลาง ดังรูป จะเกิดเป็นภาพ เพิ่มขึ้นมาอีก 5 เท่า   เช่น ภาพ 1 ภาพ จะมองเห็นเป็น 6 ภาพ 
สรุป
         เมื่อเมื่อกระจกสะท้อนแสงจากแผ่นหนึ่งไปกระจกอีกแผ่นหนึ่งจะทำใหเกิดภาพที่เห็นมากขึ้น 


  • กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ
อุปกรณ์
  1. เทียนไข
  2. ไม้ขีด
  3. แก้วน้ำ
  4. ถาดใส่น้ำ



          จุดเทียนที่อยู่กลางถาดใส่น้ำ เทน้ำลงในถาด ใช้แก้วน้ำคว่ำลงไปครอบตรงเทียน สังเกตน้ำเข้ามาในแก้วและเทียนก็จะดับในที่สุด

สรุป
      เมื่อนำแก้วน้ำครอบเทียนไขน้ำเข้ามาในแก้วและเทียนก็จะดับในที่สุด  เพราะ ออกซิเจนที่มีอยู่ภายในแก้วถูกเผาไหม้จนหมด เทียนก็จะดับ ทำให้ความดันอากาศในแก้วต่ำ ซึ่งน้อยกว่าด้านนอกแก้ว  ความดันอากาศภายนอกแก้วจึงดันน้ำให้เข้ามาอยู่ในแก้ว 

             
  • กิจกรรมกระจกสะท้อนบนเรือ

สรุป
      กระจกมีการสะท้อนแสงจากอีกบานหนึ่งไปยังอีกบานหนึ่งทำให้เราสามารถมองเห็นทั้งจากด้านบนและด้านล่างได้






Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การเชื่อมโยงความรู้
การทดลอง
การปฏิบัติจริง

Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้หรือของเล่นที่อาจารย์ได้นำเสนอไปใช้ในการประกอบการสอนให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

สนุกสนานไปกับการเสนอของเล่นที่อาจารย์ได้นำมาเสนอ เพราะได้ทั้งทดลองด้วยตัวเองและมีของเล่นที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง  อีกทั้งของเล่นทุกอย่างนั้นสอดแทรกวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตื่นเต้นและสนุกกับการทดลองของเล่นต่างๆทั้งยังได้ความรู้อีกด้วย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

เพื่อนตั้งใจนำเสนอของเล่นทั้งยังอธิบายวิธีการประดิษฐ์และวิธีการเล่นได้อย่างเข้าใจและสนุกสนาน

Teacher-Assessment (ประเมินครู )
อาจารย์มีสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ และแปลกใหม่ทำให้ตื่นเต้นกับการทดลอง ทั้งยังฝึกให้นักศึกษาสร้างความรู้จากการทดลองด้วยตนเอง
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น