วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 12 Tuesday,November 3, 2558

Diary No. 12
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, November 3, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • อภิปรายแผนการสอนทำcooking
  • อภิปรายแผนการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

 แผนการสอน หรือ แผนการจัดประสบการณ์ 


มีองค์ประกอบดังนี้

  1. วัตถุประสงค์    ใช้คำกิริยาที่สามารถบอกว่าเด็กทำได้ และเด็กสามารถสังเกตได้
  2. สาระการเรียนรู้  ประกอบ  ด้วยสาระที่ควรเรียนรู้ คือเนื้อหาที่เด้กต้องเรียน และ ประสบการณ์สำคัญ เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และดูได้จากหลักสูตร)
  3. กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
  4. สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้  อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน
  5. การวัดและประเมินผล   สามารถประเมินได้หลายวิธี เช่น สังเกตจากการร่วมกิจกรรม  การตอบคำถาม ผลงาน
  6. การบูรณาการ  สามารถบูรณาการร่วมกับเนื้อหาวิชาอื่นได้ให้มีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่สอนอยู่
                       
                       


ตัวอย่างแผนการสอนกลุ่มดิฉัน

การสอนทำcooking บัวลอย



แผนการสอน บัวลอย
  • วัตถุประสงค์
  1. เด็กปั้นบัวลอยได้
  2. เด็กแสดงชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่นได้
  3. เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  4. เด็กบอกการเปลี่ยนแปลงของขนมบัวลอยได้

  • สาระการเรียนรู้

  1. วิธีการทำบัวลอยและวัตถุดิบในการทำบัวลอย
  2. การเปลี่ยนแปลงของแป้งขนมบัวลอย
  3. บัวลอยมีสีขนาด รูปร่าง รูปทรงที่หลากหลาย

  • ประสบการณ์สำคัญ
  1. ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการปั้นแป้ง
  2. เด็กชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น
  3. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. เด็กอธิบายวิธีการทำขนมบัวลอยได้
  • กิจกรรม
ขั้นนำ 

1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำบัวลอย

ขั้นสอน

3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานแป้งที่มีอยู่ได้อย่างไร
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำแป้งลงไปในหม้อน้ำเดือดจะเป็นอย่างไร
5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำบัวลอย
6.ครูบอกสาธิตขั้นตอนในการทำบัวลอย
7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม
8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ

  • ฐานที่ 1 ผสมแป้งเอนกประสงค์กับสี 
  • ฐานที่ 2 ปั้นแป้งตามใจชอบ 
  • ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้ใส่ลงไปในหม้อน้ำเดือด รอสุก ตักน้ำกะทิราด พร้อมรับประทาน 
9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป  บัวลอย ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว เมื่อนำลงต้มในน้ำ   แป้งข้าวเหนียว จะอุ้มน้ำไว้ได้มาก จนถึงระดับหนึ่ง
ที่เราเรียกว่าแป้งสุก มวลของน้ำโดยรอบ กับแป้งที่สุกแล้ว
เกือบจะเท่ากัน แป้งสุกจึงถูกดันลอยขึ้นมาโดยน้ำร้อน ( พอแป้งสุกแล้วโครง สร้างของแป้งเปลี่ยนไป ทำให้ความหนาแน่นลดลง และลอยน้ำได้ )


ขั้นสรุป

10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำบัวลอย

11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์


  • สื่อแหล่งเรียนรู้
วัตถุดิบและอุปกรณ์
  1. แป้งข้าวเหนียว
  2. น้ำ
  3. สีผสมอาหาร
  4. กะทิ
  5. น้ำตาล
  6. หม้อไฟฟ้า 2 หม้อ สำหรับต้มแป้ง และเคี่ยวน้ำกะทิ
  7. ถ้วย
  8. ช้อน


  • การวัดและประเมินผล 

สังเกตจากการร่วมกิจกรรม 
การตอบคำถาม 
ผลงาน 

  • การบูรณาการ 
สามารถบูรณาการร่วมกับเนื้อหาวิชาอื่นได้ให้มีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่สอนอยู่




บ้านลูกโป่ง


แผนการสอนทดลองบ้านลูกโป่ง
  • วัตถุประสงค์
  1. เด็กอธิบายขั้นตอนในการทดลองได้
  2. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  3. เด็กอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้
  • สาระการเรียนรู้
อากาศมีคุณสมบัติ เช่น  อากาศมีตัวตนอากาศต้องการที่อยู่  และอากาศมีแรงดัน  

  • ประสบการณ์สำคัญ
  1. เด็กเข้าใจขั้นตอนในการทดลอง
  2. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  3. เด็กสามารถอธิบายคุณสมบัติของอากาศ

  • กิจกรรม

ขั้นนำ 

1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์อะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง

2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำบ้านลอยได้  พร้อมแนะนำอุปกรณ์


ขั้นสอน

3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะสามารถยกบ้านได้อย่างไร
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่งจะเป็นอย่างไร
5.ให้เด็กลงมือทำ รวบรวมข้อมูล
6.ครูและเด็กร่วมกัน บ้านลอยได้เพราะเมื่อเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่ง อากาศมีตัวตนอากาศต้องการที่อยู่  และอากาศมีแรงดัน ทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้นทำให้ยกบ้านได้ 

ขั้นสรุป

7.ครูและเด็กร่วมกันสรุป ขั้นตอนการทดลอง พาเด็กหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ห้องสมุด
8.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์



  • สื่อแหล่งเรียนรู้
  1. ลูกโป่ง 
  2. หลอด 
  3. ไม้ไอติม 
  4. กาว
  • การวัดและประเมินผล 
  1.  สังเกตจากการร่วมกิจกรรม 
  2.  การตอบคำถาม 
  3. ผลงาน



  • การบูรณาการ 
  1. สามารถบูรณาการร่วมกับเนื้อหาวิชาอื่นได้ให้มีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่สอนอยู่





Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การเขียนแผนที่ถูกต้อง
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การตอบคำถาม
การคิดวิเคราะห์

Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้ในการเขียนแผนไปใช้ในการเขียนแผนจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระเพื่อให้เด็กได้รับความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

มีแสงสว่าง อากาศเย็น

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึก แต่งกายถูกระเบียบ

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจฟังอาจารย์สอนดี  ไม่วุ่นวาย

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

อาจารย์ยกตัวอย่างในการเขียนแผนได้เข้าใจง่าย  ทั้งยังแนะนำเทคนิคในการเขียนแผนได้ดี
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น