Diary No. 4
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, September 1, 2558
Time 13.30 - 17.30 .
Story of subject (เนื้อหาที่สอน )
อาจารย์ให้เข้าร่วมการอบรมของคณะศึกษาศาสตร์ เรื่องทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บรรยายโดย ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล จากมหาวิทยาลัยมหิดล
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร
- สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
- สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
- ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
- ศิลปะ
- คณิตศาสตร์
- การปกครองและหน้าที่พลเมือง
- เศรษฐศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- ภูมิศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
- ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
- ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
- ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
- ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
- ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
- ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
- ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
- การสื่อสารและการร่วมมือ
- ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
- ความรู้ด้านสารสนเทศ
- ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี
- ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
- การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
- ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
- การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
- ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
- ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
- 3R คือ
- Reading (อ่านออก),
- (W)Riting (เขียนได้),
- และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
- 7C ได้แก่
- Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
- Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
- Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
- Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
- Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
- Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
- ความรู้เพิ่มเติม
- การสร้างบัญชีในยูทูป เพื่อการค้นหาวิดิโอที่เคยดูมาแล้วซึ้งจะทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
- การใช้โปรแกรมตัดต่อการ์ตูน (crazy taik animater)
- การใช้ภาพสื่อความหมาย (อินโฟกราฟฟิค)
สรุป
- การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
นิทรรศการคณะศึกษาศาสตร์ มีทั้งหมด 4 สาขา ได้เเก การศึกษาปฐมวัย พละศึกษา เทคโนโลยี เเละจิตวิทยา
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
ทราบถึงวิธีการสอน ทักษะต่างๆของครูที่ควรจะเป็นใน“ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”
Adoption( การนำไปใช้)
ครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้
Atmosphere (บรรยากาศ)
มีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างมากมายทั้งยังมีอาหารให้รับประทานตอนพักด้วย สื่อเทคโนโลยีใช้ได้ดี
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
ตั้งใจอบรม แต่งกายถูกระเบียบ
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
เพื่อนๆเข้าร่วมอบรมครบทุกคน
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย และร่วมอบรมกับนักศึกษาด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น