วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 15 Tuesday, November 24, 2558

Diary No. 15
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, November 24, 2558
Time 13.30 - 17.30 .

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • เพื่อนๆนำเสนอผผลงาน
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

นำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 15 เรื่องผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวืทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 24 การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัย
                   เด็กนักวิจัย (Children as a Researcher) หมายถึง นวัตกรรมการศึกษาที่ให้โอกาสเด็กมีบทบาทในการค้นคว้าหาข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย เด็กจะค้นคว้าข้อมูลจากการปฏิบัติการทดลอง การศึกษานอกสถานที่ การสำรวจ การประดิษฐ์ ฯลฯ เพื่อให้เด็กสามารถค้นหาคำตอบในสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเปรียบเสมือนกับเด็กเป็นนักวิจัยที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพื่อพิสูจน์ความจริงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child-centered) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้บทบาทเด็กได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่การวางแผนเลือกเรื่องที่จะเรียนรู้ การให้โอกาสเด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียนรู้ ภายใต้การสนับสนุน ส่งเสริมของครู โดยเปลี่ยนบทบาทของครูที่เคยเป็นผู้บอกความ ชี้แนะเด็ก มาเป็นการช่วยเหลือ กระตุ้นการเรียน รู้ ให้เด็กสามารถค้นพบความรู้ และสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย (Children as a Researcher Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการและความสนใจของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มเลือกหัวเรื่องในการเรียนรู้ เด็กค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การส่งเสริมการเรียนรู้จากครู ผู้ปกครองและบุคคลฝ่ายต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 



นำเสนอโทรทัศน์ครู
  • เลขที่ 25 สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ ตอนที่ 4

            การนำหลักวิถีธรรมชาติประสานวิถีพุทธนำลงสู่ห้องเรียนของคุณครูชลธิชา ผ่านนวัตกรรมการสอนที่ชื่อว่า "มาทาลโปรแกรม" ซึ่งเป็นนวัตกรรมการสอนวิทยาศาสตร์แบบธรรมชาติ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมการสร้างชุมชนในฝัน กิจกรรมนี้เด็กจะได้ทั้งทักษะการสังเกต และการเชื่อมโยงความรู้กับสิ่งที่อยู่รอบตัว จนสามารถสังเคราะห์ความรู้สร้างสรรค์ออกมาเป็นชิ้นงานของตนเองได้ในที่สุด



Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กมีความรู้ คุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )
บรรยากาศเงียบสงบ เย็นสบาย

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตั้งใจเรียนแต่งตัวเรียบร้อย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ไม่เสียงดัง แต่งตัวถูกระเบียบ

Teacher-Assessment (ประเมินครู )
มีข้อแนะนำในการเรียนดี ใช้น้ำเสียงในการสอนได้เหมาะสม ยกตัวอย่างประกอบการสอนได้เข้าใจ


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ2558


Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, November 24, 2558

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • ศึกษาดูงานนอกสถานที่ เมืองทองธานี

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ2558

จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาตร์

เสริมสร้างช้าติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม


มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ2558

  • นิทรรศการเทิดพระเกียรติ
นำเสนอคุโณประการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผ่านพระะราชกรณียกิจมากมายของบูรพามหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


นิทรรศการ แสงคือชีวิต
  • นิทรรศการ แสงคือชีวิต
อธิบายการมองเห็นของมนุษย์ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของแสงต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม


นิทรรศการ น้ำวิถีคนเมือง
  • นิทรรศการ น้ำวิถีคนเมือง
จุดประกายให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ เข้าใจวัฏจักรของน้ำ และรู้จักน้ำในมุมวิทยาศาสตร์ ผ่านนิทรรศการและการทดลองแสนสนุก เห็นคุณค่าน้ำ ที่กว่าจะมาเป็นน้ำดื่มน้ำใช้ ต้องผ่านกระบวณการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ใช้พลังงานและทรัพยากรมากมาย
นิทรรศการชีวิตดีดี ด้วยดิจิตอล
  • นิทรรศการชีวิตดีดี ด้วยดิจิตอล
ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิตอล ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันในเมืองดิจิตอล เช่น ความสะดวกสบายในบ้าน การเดินทาง การศึกษา รวมถึงรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีอย่างมีภูมิคุ้มกัน
  • นิทรรศการ วิกฤต ลม ฟ้า อากาศ
เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของฤดูกาล และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นิทรรศการ ดินดี ชีวิตดี
  • นิทรรศการ ดินดี ชีวิตดี
ดิน สมบัติอันล้ำค่าของธรรมชาติและประโยชน์มากมายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  
  • นิทรรศการความหลากหลายสู่ความยั่งยืน
นิทรรศการความหลากหลายสู่ความยั่งยืน
  • นิทรรศการ อาหารเพื่ออนาคต
นิทรรศการ อาหารเพื่ออนาคต
  • นิทรรศการรู้รักษ์ช้าง   
ช้างไทย สัตว์ประจำชาติไทย เรียนรู้วิวัฒนาการ และมุมมองวิทยาศาสตร์ต่อช้าง ทั้งลักษณะทางกายภาพ สายพันธุ์ และพฤติกรรม
นิทรรศการของเล่นภูมิปัญญา
  • นิทรรศการของเล่นภูมิปัญญา  (Science in Traditional Toys)
การเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ และจินตนาการ นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม สนุกกับกลไกของเล่นทั้งการเคลื่อนที่ การหมุน แรกยก แรงเฉื่อย เป็นต้น

1654 800x533
จั๊กจั่นเสียงใส

  • “การเล่น” ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดจินตนาการฝึกสมอง กระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ ของร่างกาย นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์นวัตกรรม ซึ่งการเล่นมีวิวัฒนาการอยู่คู่เด็กๆ ทั่วโลกมานานหลายร้อยปี และที่น่าสนใจคือ ของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
11650 800x534
 หนูกะลา

  • กิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น เรียนรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์และกลไกต่างๆ ที่แฝงอยู่ในของเล่น ทั้งการเคลื่อนที่ แรงโน้มถ่วง การหมุน แรงยก แรงเฉื่อย 

  •  ของเล่นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC  อาทิ 

  1. ป๋องแป๋งมังกรและลูกเตะขนไก่ จากประเทศสิงคโปร์,
  2. กีตาร์บาหลีและป๊อกแป๊กไม้ไผ่ จากประเทศอินโดนีเซีย, 
  3. ว่าววาอู จากประเทศมาเลเซีย,
  4. แคนและลูกข่าง จากประเทศลาว
  5. หุ่นสายหรือโย้เท้ จากประเทศพม่า, 
  6. กะโน้ปติงตองหรือตั๊กแตนตำข้าว จากประเทศกัมพูชา, 
  7. หุ่นกระบอกน้ำ จากประเทศเวียดนาม, 
  8. นกหวีดไม้ไผ่ จากประเทศบรูไน, 
  9. ซิปาหรือลูกเตะ จากประเทศฟิลิปปินส์ 
  10. ดุ๊ยดุ่ย กำหมุนบิน ลูกข่าง หนูกะลา คอปเตอร์ไม้ไผ่ จั๊กจั่นเสียงใส และหนอนดิน จากประเทศไทย 







Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (นอกสถานที่)

Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตรที่เพื่อนนำเสนอและที่ได้ไปศึกษาดูงาน มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ

classroom atmosphere (บรรยากาศในงาน )
บรรยากาศเงียบสงบ เย็นสบาย

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตั้งใจเรียนแต่งตัวเรียบร้อย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )
ไม่เสียงดัง แต่งตัวถูกระเบียบ


Teacher-Assessment (ประเมินครู )
มีข้อแนะนำในการเรียนดี แนะนำแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ดี

Diary No. 14 Tuesday, November 17, 2558



Diary No. 14

Science experiences management for early childhood

Instructor Jintana suksamran

Tuesday, November 17, 2558
Time 13.30 - 17.30 .
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  1. การสอนทำcooking บัวลอย 
  2. การสอนทำcooking บลูเบอรี่ชีสพาย 
  3. การสอนทำcooking ไอศกรีม 
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
การสอนทำcooking บัวลอย


แผนการสอน บัวลอย
  • วัตถุประสงค์
  1. เด็กปั้นบัวลอยได้
  2. เด็กแสดงชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่นได้
  3. เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  4. เด็กบอกการเปลี่ยนแปลงของขนมบัวลอยได้
  • สาระการเรียนรู้
  1. วิธีการทำบัวลอยและวัตถุดิบในการทำบัวลอย
  2. การเปลี่ยนแปลงของแป้งขนมบัวลอย
  3. บัวลอยมีสีขนาด รูปร่าง รูปทรงที่หลากหลาย
  • ประสบการณ์สำคัญ
  1. ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการปั้นแป้ง
  2. เด็กชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น
  3. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. เด็กอธิบายวิธีการทำขนมบัวลอยได้
  • กิจกรรม
ขั้นนำ 
1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำบัวลอย

ขั้นสอน
3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานแป้งที่มีอยู่ได้อย่างไร
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำแป้งลงไปในหม้อน้ำเดือดจะเป็นอย่างไร
5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำบัวลอย
6.ครูบอกสาธิตขั้นตอนในการทำบัวลอย
7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม
8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ
  • ฐานที่ 1 ผสมแป้งเอนกประสงค์กับสี 
  • ฐานที่ 2 ปั้นแป้งตามใจชอบ 
  • ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้ใส่ลงไปในหม้อน้ำเดือด รอสุก ตักน้ำกะทิราด พร้อมรับประทาน 
9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป  
บัวลอย ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว เมื่อนำลงต้มในน้ำ   แป้งข้าวเหนียว จะอุ้มน้ำไว้ได้มาก จนถึงระดับหนึ่ง
ที่เราเรียกว่าแป้งสุก มวลของน้ำโดยรอบ กับแป้งที่สุกแล้ว
เกือบจะเท่ากัน แป้งสุกจึงถูกดันลอยขึ้นมาโดยน้ำร้อน ( พอแป้งสุกแล้วโครง สร้างของแป้งเปลี่ยนไป ทำให้ความหนาแน่นลดลง และลอยน้ำได้ )


ขั้นสรุป
10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำบัวลอย

11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์

  • สื่อแหล่งเรียนรู้
วัตถุดิบและอุปกรณ์
  1. แป้งข้าวเหนียว
  2. น้ำ
  3. สีผสมอาหาร
  4. กะทิ
  5. น้ำตาล
  6. หม้อไฟฟ้า 2 หม้อ สำหรับต้มแป้ง และเคี่ยวน้ำกะทิ
  7. ถ้วย
  8. ช้อน
  • การวัดและประเมินผล 
  1.  สังเกตจากการร่วมกิจกรรม 
  2.  การตอบคำถาม 
  3. ผลงาน



การสอนทำcooking บลูเบอรี่ชีสพาย 

ขั้นนำ
1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำบลูเบอรี่ชีสพาย

ขั้นสอน
3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานวัตถุดิบที่มีอยู่ได้อย่างไร
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันจะเป็นอย่างไร
5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำบลูเบอรี่ชีสพาย
6.ครูบอกสาธิตขั้นตอนในการทำบลูเบอรี่ชีสพาย
7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม
8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ

  • ฐานที่ 1 บดโอลิโอ้ให้ละเอียด และนำนำมาผสมรวมเข้าด้วยกันใส่แก้ว 
  • ฐานที่ 2 นำชีสมาปรุงรสด้วยน้ำมะนาว โยเกิร์ต แล้วตักใส่แก้ว 
  • ฐานที่ 3 นำบลูเบอรี่มาตกแต่งหน้าชีสพร้อมตกแต่งให้สวยงามด้วยท๊อปปิ้งอื่นๆ 
9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป

ขั้นสรุป
10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำบลูเบอรี่ชีสพาย
11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์


การสอนทำcooking ไอศกรีม 





  • อุปกรณ์
ถ้วย
ถุงซิปล็อคใบใหญ่ และ ใบเล็ก
ตะกร้อตีไข่
  • วัตถุดิบ
นมข้นหวาน
นมจืด
วิปปิ้งครีม
น้ำแข่ง
ท็อปปิ้งสำหรับตกแต่ง

                             การสอนทำcooking ไอศกรีม

ขั้นนำ

1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำไอศกรีม

ขั้นสอน

3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานไอศกรีมได้
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันแล้วเขย่าจะเป็นอย่างไร
5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำไอศกรีม
6.ครูบอกขั้นตอนในการทำไอศกรีม
7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม และแจกอุปกรณ์ให้เด็กทำไปพร้อมกัน
8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ

  • ขั้นตอนที่ 1 เทนมสดและนมข้นหวานลงในชามผสมให้เข้ากัน 
  • ขั้นตอนที่ 2 ใส่วิ๊ปปิ้งครีมแล้วคนให้เข้ากัน 
  • ขั้นตอนที่ 3 ใส่เกลือเล็กน้อยพอประมาณแล้วคนให้เข้ากัน 
  • ขั้นตอนที่ 4 `เทส่วนผสมทั้งหมดลงในถุงซิปล็อกขนาดเล็กและปิดปากถุงให้สนิท 
  • ขั้นตอนที่ 5 ตักน้ำแข็งใส่ในถุงซิปล็อกขนาดใหญ่และนำเกลือใส่น้ำแข็งขยำให้เข้ากัน 
  • ขั้นตอนที่ 6 นำถุงซิปล็อกขนาดเล็กใส่เข้าไปในถุงขนาดใหญ่ปิดปากถุงให้สนิท 
  • ขั้นตอนที่ 7 เขย่าถุงจนไอศครีมแข็งตัว 
  • ขั้นตอนที่ 8 ตักใส่ถ้วยพร้อมตกแต่งให้สวยงาม
9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป

ขั้นสรุป
10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำไอศครีม
11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์





  • Skill (ทักษะที่ได้รับ ) 
ทักษะการลงมือปฏิบัติจริง
การสังเกต
การวิเคราะห์
การตอบคำถาม
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
  • Adoption ( การนำไปใช้ ) 
นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามขั้นตอน เพื่อให้ได้ความรู้และทักษะทางวิทยาสาตร์
  • classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )
สนุกสนานไปกับการทำcooking บัวลอย บลูเบอรี่ชีสพาย และ ไอศกรีม
  • Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตั้งใจทำกิจกรรม แต่งตัวเรียบร้อย
  • friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )
ตั้งใจทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • Teacher-Assessment (ประเมินครู )
เข้าสอนตรงเวลา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เข้าใจเป็นอย่างดี

Diary No. 13 Tuesday, November 10, 2558



Diary No. 13

Science experiences management for early childhood

Instructor Jintana suksamran
Tuesday, November 10, 2558
Time 13.30 - 17.30 .
  • Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  1. การสอนทำcooking ข้าวทาโกยากิ 
  2. การสอนทำcooking ขนมวาฟเฟิล 
  • Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
การสอนทำcooking ข้าวทาโกยากิ 




  • อุปกรณ์
  1. เตาทาโกยากิ
  2. ถ้วย
  3. ตะเกียบ
  4. ช้อน
  5. หม้อหุงข้าว
  6. ทัพพี
  • วัตถุดิบ
  1. ข้าวสวย
  2. ไข่ไก่
  3. ปูอัด
  4. ซอสปรุงรส
  5. มายองเนส
  6. ซอสทาโกยากิ 
  7. สาหร่าย
                              การสอนทำcooking ข้าวทาโกยากิ 
ขั้นนำ

1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำข้าวทาโกยากิ

ขั้นสอน

3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานข้าวทาโกยากิได้
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันแล้วนำลงกระทะจะเป็นอย่างไร
5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำข้าวทาโกยากิ
6.ครูบอกขั้นตอนในการทำขนมวาฟเฟิล
7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม
8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ
ฐานที่ 1 ตักข้าวผสมกับไข่
ฐานที่ 2 ใส่สาหร่าย ปูอัดและซอส
ฐานที่ 3 นำส่วนผสมทั้งหมดลงกระทะสำหรับทำทาโกยากิ
ฐานที่ 4 ตกแต่งให้สวยงาม
9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป


ขั้นสรุป
10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำข้าวทาโกยากิ
11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์


การสอนทำcooking ขนมวาฟเฟิล

  • อุปกรณ์
  1. เตาวาฟเฟิล
  2. ตะกร้อตีไข่
  3. ถ้วย 
  • วัตถุดิบ
  1. แป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป
  2. ไข่ไก่
  3. นม
  4. น้ำดื่ม
  5. กลิ่นวนิลา
  6. อุปกรณ์ตกแต่งหน้าวาฟเฟิล เช่น ช็อคโกแลต (Chocolate) , แยม (Jam) , เยลลี่ 

                        
                             การสอนทำcooking ขนมวาฟเฟิล

ขั้นนำ
1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำขนมวาฟเฟิล

ขั้นสอน
3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานขนมวาฟเฟิลได้

4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันแล้วนำลงกระทะจะเป็นอย่างไร

5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำขนมวาฟเฟิล

6.ครูบอกขั้นตอนในการทำขนมวาฟเฟิล

7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม

8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ

ฐานที่ 1 นำส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน
ฐานที่ 2 นำส่วนผสมที่เข้ากันแล้วไปใส่ที่กระทะสำหรับทำวาฟเฟิล
ฐานที่ 3 ตกแต่งให้สวยงาม

9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป

ขั้นสรุป

10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำขนมวาฟเฟิล
11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์



  • Skill (ทักษะที่ได้รับ ) 
ทักษะการลงมือปฏิบัติจริง
การสังเกต
การวิเคราะห์
การตอบคำถาม
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

  • Adoption ( การนำไปใช้ ) 
นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามขั้นตอน เพื่อให้ได้ความรู้และทักษะทางวิทยาสาตร์
  • classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )
สนุกสนานไปกับการทำcooking ข้าวทาโกยากิ และ ขนมวาฟเฟิล
  • Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตั้งใจทำกิจกรรม แต่งตัวเรียบร้อย
  • friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )
ตั้งใจทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • Teacher-Assessment (ประเมินครู )
เข้าสอนตรงเวลา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เข้าใจเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 12 Tuesday,November 3, 2558

Diary No. 12
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, November 3, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • อภิปรายแผนการสอนทำcooking
  • อภิปรายแผนการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

 แผนการสอน หรือ แผนการจัดประสบการณ์ 


มีองค์ประกอบดังนี้

  1. วัตถุประสงค์    ใช้คำกิริยาที่สามารถบอกว่าเด็กทำได้ และเด็กสามารถสังเกตได้
  2. สาระการเรียนรู้  ประกอบ  ด้วยสาระที่ควรเรียนรู้ คือเนื้อหาที่เด้กต้องเรียน และ ประสบการณ์สำคัญ เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และดูได้จากหลักสูตร)
  3. กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
  4. สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้  อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน
  5. การวัดและประเมินผล   สามารถประเมินได้หลายวิธี เช่น สังเกตจากการร่วมกิจกรรม  การตอบคำถาม ผลงาน
  6. การบูรณาการ  สามารถบูรณาการร่วมกับเนื้อหาวิชาอื่นได้ให้มีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่สอนอยู่
                       
                       


ตัวอย่างแผนการสอนกลุ่มดิฉัน

การสอนทำcooking บัวลอย



แผนการสอน บัวลอย
  • วัตถุประสงค์
  1. เด็กปั้นบัวลอยได้
  2. เด็กแสดงชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่นได้
  3. เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  4. เด็กบอกการเปลี่ยนแปลงของขนมบัวลอยได้

  • สาระการเรียนรู้

  1. วิธีการทำบัวลอยและวัตถุดิบในการทำบัวลอย
  2. การเปลี่ยนแปลงของแป้งขนมบัวลอย
  3. บัวลอยมีสีขนาด รูปร่าง รูปทรงที่หลากหลาย

  • ประสบการณ์สำคัญ
  1. ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการปั้นแป้ง
  2. เด็กชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น
  3. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. เด็กอธิบายวิธีการทำขนมบัวลอยได้
  • กิจกรรม
ขั้นนำ 

1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์และวัตถุดิบอะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำบัวลอย

ขั้นสอน

3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะทำอย่างไรให้สามารถทานแป้งที่มีอยู่ได้อย่างไร
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูนำแป้งลงไปในหม้อน้ำเดือดจะเป็นอย่างไร
5.ครูบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำบัวลอย
6.ครูบอกสาธิตขั้นตอนในการทำบัวลอย
7.ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม
8.ครูให้เด็กลงมือกระทำ

  • ฐานที่ 1 ผสมแป้งเอนกประสงค์กับสี 
  • ฐานที่ 2 ปั้นแป้งตามใจชอบ 
  • ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้ใส่ลงไปในหม้อน้ำเดือด รอสุก ตักน้ำกะทิราด พร้อมรับประทาน 
9.ครูและเด็กร่วมกันสรุป  บัวลอย ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว เมื่อนำลงต้มในน้ำ   แป้งข้าวเหนียว จะอุ้มน้ำไว้ได้มาก จนถึงระดับหนึ่ง
ที่เราเรียกว่าแป้งสุก มวลของน้ำโดยรอบ กับแป้งที่สุกแล้ว
เกือบจะเท่ากัน แป้งสุกจึงถูกดันลอยขึ้นมาโดยน้ำร้อน ( พอแป้งสุกแล้วโครง สร้างของแป้งเปลี่ยนไป ทำให้ความหนาแน่นลดลง และลอยน้ำได้ )


ขั้นสรุป

10.ครูและเด็กร่วมกันสรุปอุปกรณ์ วัตถุดิบ ขั้นตอน และวิธีการทำบัวลอย

11.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์


  • สื่อแหล่งเรียนรู้
วัตถุดิบและอุปกรณ์
  1. แป้งข้าวเหนียว
  2. น้ำ
  3. สีผสมอาหาร
  4. กะทิ
  5. น้ำตาล
  6. หม้อไฟฟ้า 2 หม้อ สำหรับต้มแป้ง และเคี่ยวน้ำกะทิ
  7. ถ้วย
  8. ช้อน


  • การวัดและประเมินผล 

สังเกตจากการร่วมกิจกรรม 
การตอบคำถาม 
ผลงาน 

  • การบูรณาการ 
สามารถบูรณาการร่วมกับเนื้อหาวิชาอื่นได้ให้มีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่สอนอยู่




บ้านลูกโป่ง


แผนการสอนทดลองบ้านลูกโป่ง
  • วัตถุประสงค์
  1. เด็กอธิบายขั้นตอนในการทดลองได้
  2. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  3. เด็กอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้
  • สาระการเรียนรู้
อากาศมีคุณสมบัติ เช่น  อากาศมีตัวตนอากาศต้องการที่อยู่  และอากาศมีแรงดัน  

  • ประสบการณ์สำคัญ
  1. เด็กเข้าใจขั้นตอนในการทดลอง
  2. เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  3. เด็กสามารถอธิบายคุณสมบัติของอากาศ

  • กิจกรรม

ขั้นนำ 

1.สนทนาว่าเด็กๆเห็นอุปกรณ์อะไรบ้าง และสามารถทำอะไรได้บ้าง

2.บอกเด็กว่าวันนี้จะมาทำบ้านลอยได้  พร้อมแนะนำอุปกรณ์


ขั้นสอน

3.ครูสร้างประเด็นปัญหาว่า เราจะสามารถยกบ้านได้อย่างไร
4.ครูตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าครูเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่งจะเป็นอย่างไร
5.ให้เด็กลงมือทำ รวบรวมข้อมูล
6.ครูและเด็กร่วมกัน บ้านลอยได้เพราะเมื่อเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่ง อากาศมีตัวตนอากาศต้องการที่อยู่  และอากาศมีแรงดัน ทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้นทำให้ยกบ้านได้ 

ขั้นสรุป

7.ครูและเด็กร่วมกันสรุป ขั้นตอนการทดลอง พาเด็กหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ห้องสมุด
8.ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์



  • สื่อแหล่งเรียนรู้
  1. ลูกโป่ง 
  2. หลอด 
  3. ไม้ไอติม 
  4. กาว
  • การวัดและประเมินผล 
  1.  สังเกตจากการร่วมกิจกรรม 
  2.  การตอบคำถาม 
  3. ผลงาน



  • การบูรณาการ 
  1. สามารถบูรณาการร่วมกับเนื้อหาวิชาอื่นได้ให้มีความสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่สอนอยู่





Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การเขียนแผนที่ถูกต้อง
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การตอบคำถาม
การคิดวิเคราะห์

Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้ในการเขียนแผนไปใช้ในการเขียนแผนจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระเพื่อให้เด็กได้รับความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

มีแสงสว่าง อากาศเย็น

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึก แต่งกายถูกระเบียบ

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจฟังอาจารย์สอนดี  ไม่วุ่นวาย

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

อาจารย์ยกตัวอย่างในการเขียนแผนได้เข้าใจง่าย  ทั้งยังแนะนำเทคนิคในการเขียนแผนได้ดี