วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ2558


Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, November 24, 2558

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • ศึกษาดูงานนอกสถานที่ เมืองทองธานี

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ2558

จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาตร์

เสริมสร้างช้าติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม


มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ2558

  • นิทรรศการเทิดพระเกียรติ
นำเสนอคุโณประการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผ่านพระะราชกรณียกิจมากมายของบูรพามหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


นิทรรศการ แสงคือชีวิต
  • นิทรรศการ แสงคือชีวิต
อธิบายการมองเห็นของมนุษย์ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของแสงต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม


นิทรรศการ น้ำวิถีคนเมือง
  • นิทรรศการ น้ำวิถีคนเมือง
จุดประกายให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ เข้าใจวัฏจักรของน้ำ และรู้จักน้ำในมุมวิทยาศาสตร์ ผ่านนิทรรศการและการทดลองแสนสนุก เห็นคุณค่าน้ำ ที่กว่าจะมาเป็นน้ำดื่มน้ำใช้ ต้องผ่านกระบวณการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ใช้พลังงานและทรัพยากรมากมาย
นิทรรศการชีวิตดีดี ด้วยดิจิตอล
  • นิทรรศการชีวิตดีดี ด้วยดิจิตอล
ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิตอล ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันในเมืองดิจิตอล เช่น ความสะดวกสบายในบ้าน การเดินทาง การศึกษา รวมถึงรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีอย่างมีภูมิคุ้มกัน
  • นิทรรศการ วิกฤต ลม ฟ้า อากาศ
เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของฤดูกาล และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นิทรรศการ ดินดี ชีวิตดี
  • นิทรรศการ ดินดี ชีวิตดี
ดิน สมบัติอันล้ำค่าของธรรมชาติและประโยชน์มากมายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  
  • นิทรรศการความหลากหลายสู่ความยั่งยืน
นิทรรศการความหลากหลายสู่ความยั่งยืน
  • นิทรรศการ อาหารเพื่ออนาคต
นิทรรศการ อาหารเพื่ออนาคต
  • นิทรรศการรู้รักษ์ช้าง   
ช้างไทย สัตว์ประจำชาติไทย เรียนรู้วิวัฒนาการ และมุมมองวิทยาศาสตร์ต่อช้าง ทั้งลักษณะทางกายภาพ สายพันธุ์ และพฤติกรรม
นิทรรศการของเล่นภูมิปัญญา
  • นิทรรศการของเล่นภูมิปัญญา  (Science in Traditional Toys)
การเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ และจินตนาการ นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม สนุกกับกลไกของเล่นทั้งการเคลื่อนที่ การหมุน แรกยก แรงเฉื่อย เป็นต้น

1654 800x533
จั๊กจั่นเสียงใส

  • “การเล่น” ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดจินตนาการฝึกสมอง กระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ ของร่างกาย นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์นวัตกรรม ซึ่งการเล่นมีวิวัฒนาการอยู่คู่เด็กๆ ทั่วโลกมานานหลายร้อยปี และที่น่าสนใจคือ ของเล่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
11650 800x534
 หนูกะลา

  • กิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่น เรียนรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์และกลไกต่างๆ ที่แฝงอยู่ในของเล่น ทั้งการเคลื่อนที่ แรงโน้มถ่วง การหมุน แรงยก แรงเฉื่อย 

  •  ของเล่นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC  อาทิ 

  1. ป๋องแป๋งมังกรและลูกเตะขนไก่ จากประเทศสิงคโปร์,
  2. กีตาร์บาหลีและป๊อกแป๊กไม้ไผ่ จากประเทศอินโดนีเซีย, 
  3. ว่าววาอู จากประเทศมาเลเซีย,
  4. แคนและลูกข่าง จากประเทศลาว
  5. หุ่นสายหรือโย้เท้ จากประเทศพม่า, 
  6. กะโน้ปติงตองหรือตั๊กแตนตำข้าว จากประเทศกัมพูชา, 
  7. หุ่นกระบอกน้ำ จากประเทศเวียดนาม, 
  8. นกหวีดไม้ไผ่ จากประเทศบรูไน, 
  9. ซิปาหรือลูกเตะ จากประเทศฟิลิปปินส์ 
  10. ดุ๊ยดุ่ย กำหมุนบิน ลูกข่าง หนูกะลา คอปเตอร์ไม้ไผ่ จั๊กจั่นเสียงใส และหนอนดิน จากประเทศไทย 







Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (นอกสถานที่)

Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตรที่เพื่อนนำเสนอและที่ได้ไปศึกษาดูงาน มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ

classroom atmosphere (บรรยากาศในงาน )
บรรยากาศเงียบสงบ เย็นสบาย

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตั้งใจเรียนแต่งตัวเรียบร้อย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )
ไม่เสียงดัง แต่งตัวถูกระเบียบ


Teacher-Assessment (ประเมินครู )
มีข้อแนะนำในการเรียนดี แนะนำแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น