วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้

1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว เด็กควรจะเกิดแนวคิดดังนี้

  • ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด ฉันมีเสียง รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร ฉันภูมิใจที่เป็นตัวฉันเอง เป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟันรับประทานอาหาร ฯลฯ
  • ฉันมีอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ และ ฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขภาพดี
  • ฉันต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
  • ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่าง ๆ รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน เล่นคนเดียว และเล่นกับผู้อื่น
  • ฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่น ๆ แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดี และเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น หรือทำสิ่งต่าง ๆด้วยความคิดของตนเอง แสดงว่าฉันมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน

2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้

  • ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รวมทั้งต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตามข้อตกลงภายในครอบครัว ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิดของบุคคลในครอบครัว วันทำบุญบ้าน ฯลฯ ฉันภูมิใจในครอบครัวของฉัน 
  • สถานศึกษาของฉันมีชื่อ เป็นสถานที่ที่เด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา ส่วนครูรักฉันและเอาใจใส่ดูแลเด็กทุกคน เวลาทำกิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รับฟังความคิดเห็น และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
  • ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สำคัญ คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจชาวนา ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ ท้องถิ่นของฉันมีวันสำคัญของตนเอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
  • ฉันเป็นคนไทย มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง ฉันและเพื่อนนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ฉันภูมิใจที่ฉันเป็นคนไทย

3)ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่นฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว มีดังนี้

  • ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศ ฤดูกาล และยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น น้ำ หิน ดิน ทราย ฯลฯ มีรูปร่าง สี ประโยชน์ และโทษต่างกัน
  • ลักษณะอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉันทายลักษณะอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ฯลฯ ในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
  • สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น ต้นไม้ สัตว์ น้ำ ดิน หิน ทราย อากาศ ฯลฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆตัวฉัน เช่น บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดยไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้

4)สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้

  • สิ่งต่างๆรอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์ อากาศบริสุทธิ์ ฉันเห็นสีต่างๆด้วยตา แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่น ๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวฉันมีชื่อ ลักษณะต่าง ๆ กัน สามารถแบ่งตามประเภท ชนิด ขนาด สี รูปร่าง พื้นผิว วัสดุ รูปเรขาคณิต ฯลฯ
  • การนับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้ ฉันเปรียบเทียบสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด จำนวน น้ำหนัก และจัดเรียงลำดับสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด ตำแหน่ง ลักษณะที่ตั้งได้
  • คนเราใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น เงิน โทรศัพท์ บ้านเลขที่ ฯลฯ ฉันรวบรวมข้อมูลง่าย ๆ นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยนำเสนอด้วยรูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ ฯลฯ
  • สิ่งที่ช่วยฉันในการชั่ง ตวง วัด มีหลายอย่าง เช่น เครื่องชั่ง ไม้บรรทัด สายวัด ถ้วยตวง ช้อนตวง เชือก วัสดุ สิ่งของอื่น ๆ บางอย่างฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือกะประมาณ
  • เครื่องมือเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ในการทำสวน การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ฯลฯ คนเราใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในเวลาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือใช้ผิดประเภท เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
  • ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ พาหนะบางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเราเดินทางหรือขนส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พาหนะที่ใช้เดินทาง เช่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ ผู้ขับขี่จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่และทำตามกฏจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
  • ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆได้หลายวิธี เช่น โดยการไปมาหาสู่ โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือ หนังสือเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันก็จะมีความรู้ ความคิดมากขึ้น ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน

Diary No. 10 Tuesday, October 20, 2558



Diary No. 10

Science experiences management for early childhood

Instructor Jintana suksamran
Tuesday, October 20, 2558
Time 13.30 - 17.30 .

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นจากหน่วยการเรียนรู้
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
  • ทราบถึงสาระต่างๆที่เด็กควรเรียนรู้และการสร้างสรรค์ผลงานทาง
วิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้
ทำของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบ้าน ดังนี้
ของเล่นใช้ในการทดลอง : บ้านลูกโป่ง
ของเล่นเข้ามุม : บ้านไฟฉาย
ของเล่นเด็กประดิษฐ์ได้เอง : พัดมายากล


บ้านลูกโป่ง

  • อุปกรณ์ 
  1. ลูกโป่ง 
  2. หลอด 
  3. ไม้ไอติม 
  4. กาว 
  • วิธีทำ 
  1. นำไม้ไอศครีมและกาวมาติดกันให้เป็นรูปบ้าน 
  2. ติดลูกโป่งกับหลอดเข้าด้วยกัน 
  3. นำลูกโป่งที่ติดกับหลอดมาใส่เข้าไว้ในบ้าน 
  • วิธีเล่น  เป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง จะทำให้สามารถยกบ้านขึ้นได้ 
  • หลักการ เมื่อเราเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่ง อากาศต้องการที่อยู่ อากาศมีตัวตน และอากาศมีแรงดัน ทำให้ลูกโป่งขยายตัวขึ้นทำให้ยกบ้านได้ 


บ้านไฟฉาย 


  • อุปกรณ์
  1. ไม้ไอศครีม 
  2. ไฟฉาย 
  3. หลอดไฟ 
  4. กาว 
  5. สายไฟ 
  6. สก็อตเทป 
  • วิธีทำ 
  1. นำไม้ไอศครีมมาต่อเป็นรูปบ้าน 
  2. นำสายไฟมาต่อกับหลอดไฟโดยใช้สก็อตเทปพันให้แน่น แล้วนำหลอดไฟใส่ไว้ในบ้าน 
  • วิธีเล่น ต่อถ่านไฟฉายเข้ากับวงจรไฟฟ้า จะทำให้เกิดแสงสว่าง 
  • หลักการ เมื่อต่อไฟฉายกับวงจรไฟฟ้า กกระแสไฟฟ้าจากขั้วบวก ของถ่านไฟฉาย ผ่านวงจรไฟฟ้าแล้วกลับมายังขั้วลบ ทำให้เกิดแสงสว่างในตัวบ้าน 


พัดมายากล 



  • อุปกรณ์ 
  1. ยางรัด 
  2. สี 
  3. ตะเกียบ 
  4. กระดาษแข็งสีขาว 
  5. กาว 
  6. กรรไกร 
  • วิธีการทำ 
  1. ตัดกระดาษสีขาวให้เป็นรูปวงกลม 
  2. ออกแบบภาพวาดพร้อมระบายสีตกแต่งทั้งสองด้าน 
  3. นำตะเกียบไม้มาผ่าครึ่ง 
  4. นำภาพวาดไปเสียบที่ไม้ตะเกียบ 
  5. ใช้ยางรัดตรงปลายตะเกียบให้แน่น 
  • วิธีเล่น ใช้มือปั่นตรงด้ามตะเกียบ จะทำให้เห็นภาพซ้อนกัน 
  • หลักการ คือ เป็นภาพติดตา 
                  
  • กิจกรรมนำเสนอบทความ
เลขที่ 11 ทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
เลขที่ 12 เรียนรู้ อยู่รอด



  • Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การกล้าแสดงออก
การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
การรับฟังความคิดเห็นจากการนำเสนองาน
  • Adoption ( การนำไปใช้ )
นำความรู้หรือของเล่นที่เพื่อนๆได้นำเสนอไปใช้ในการประกอบการสอนให้สออดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ได้

  • classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )
สนุกสนานไปกับการนำเสนอของเล่นที่เพื่อนๆได้นำมาเสนอ เพราะได้ทั้งทดลองด้วยตัวเองและมีของเล่นที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง อีกทั้งของเล่นทุกอย่างนั้นสอดแทรกวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย

  • Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตื่นเต้นและสนุกกับการทดลองของเล่นต่างๆทั้งยังได้ความรู้อีกด้วย

  • friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )
เพื่อนตั้งใจนำเสนอของเล่นทั้งยังอธิบายวิธีการประดิษฐ์และวิธีการเล่นได้อย่างเข้าใจและสนุกสนาน

  • Teacher-Assessment (ประเมินครู )
อาจารย์ไม่กดดันนักศึกษาขณะนำเสนองานทำให้นักศึกษานำเสนอผลงานได้อย่างเป็นธรรมชาติ

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 9 Tuesday, October 13, 2558

Diary No. 9
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, October 13, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

            สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้

        1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

        2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน 
         3)ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่นฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ  
        4)สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก  
                                              

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
  • แบ่งกลุ่มสรุปเนื้อหาจากสาระที่ควรเรียนรู้  ได้หัวข้อเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก   เลือกหน่วยบ้าน 

หน่วยบ้าน
เรื่องบ้านเเบ่งเป็นหัวข้อได้เเก่
1.สมาชิก

  • มีพ่อ    
  • มีแม่ 
  • ฉัน
  • ปู่ ย่า
  • ตา ยาย
  • ลุง ป้า
  • น้า อา

 2.ประเภท

  • แบบทาวเฮาส์สองชั้น 
  • บ้านเดี่ยว

3. ลักษณะ 
  •  สี
  •  ขนาด ( เล็ก กลางใหญ่ )
  • ส่วนประกอบ  (หลังคา ประตู หน้าต่าง บันได ฯลฯ )
  • ห้องต่างๆ ภายในบ้าน ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ หัองครัว ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น
  • รูปทรง  ( สามหลี่ยม  สี่เหลี่ยม )
  • จำนวนชั้น  ( 2 ชั้น, 3 ชั้น, 4 ชั้น)
4.การดูเเล 

  • กวาดพื้น (ไม้กวาด), 
  • ถูกพื้นห้องสกปรก (ไม้ถูพื้น),
  •  เช็ดฝุ่นสิ่งสกปรก  (ผ้าขี้ริ้ว)

 5.ประโยชน์
  • พักผ่อน
  • อยู่อาศัย
  • บังแดดบังฝน
6.ข้อพึงระวัง
  • บันไดต่างระดับระวังสะดุุดล้ม

*ทำของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบ้าน ดังนี้
  1. ของเล่นใช้ในการทดลอง : บ้านลูกโป่ง
  2. ของเล่นเข้ามุม : บ้านไฟฉาย
  3. ของเล่นเด็กประดิษฐ์ได้เอง :  พัดมายากล
กิจกกรมนำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวณการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่6 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กิจกกรมนำเสนอโทรทัศน์ครู

  • เลขที่7 แรงตึงผิว
  • เลขที่8 สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
  • เลขที่9 จุดประกายนักวิทยาศาสตร์





Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การแสดงความคิดเห็น
การคิดสร้างสรรค์ผลงาน
การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
การสรุปความคิดรวบยอด

Adoption ( การนำไปใช้ )

นำความรู้ในการออกแบบของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปได้
 classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )
สนุกสนานกับการออกแแบบของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตั้งใจเรียนและตั้งใจสรุปแผนผัง และออกแบบของเล่น

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจเขียนแผนผังและออกแบบของเล่นได้เป็นอย่างดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

สอนดี แนะนำลูกศิษย์ในการออกแบบของเล่นได้ดี โดยอาจารย์จะไม่บอกตรงๆแต่จะให้นักศึกษาค่อยๆคิดจนหาทางออกได้ในที่สุด

  

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 8 Tuesday, October 6, 2558



Diary No. 8
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, October 6, 2558
Time 13.30 - 17.30 .



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

นักศึกษานำเสนอของเล่นที่ตนเองได้ประดิษฐ์ขึ้น เรื่อง พลังงาน

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

            พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีพลังงาน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งใดก็ตามที่เคลื่อนไหว เติบโต หรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง ย่อมมีพลังงาน


             พลังงานมีหลายชนิด ได้แก่

  • พลังงานศักย์
  • พลังงานจลน์
  • พลังงานเคมี
  • พลังงานความร้อน
  • พลังงานเสียง
  • พลังงานแสงหรือรังสี
  • พลังงานไฟฟ้า
    พลังงานศักย์        เป็นพลังงานที่สะสมไว้ในสิ่งต่างๆ เนื่องจากที่ตั้งของสิ่งนั้น หรือเพราะสิ่งนั้นถูกกระทำโดยสิ่งอื่น เช่น
  • พลังงานในสิ่งของหนักที่ถูกยกขึ้น
  • พลังงานใน(ลวดสปริง) ลานนาฬิกา
  • พลังงานในคันธนูที่ถูกโก่ง
  • พลังงานในอ่างน้ำที่อยู่สูง
    พลังงานจลน์        เป็นพลังงานของการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น
  • พลังงานในขบวนรถไฟด่วน
  • พลังงานในลม
  • พลังงานในคลื่น

*พลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกว่า พลังงานจลน์ (kinetic energy) และ
*พลังงานที่มีสะสมอยู่ในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกว่า พลังงานศักย์ (potenxtial energy)
  • กิจกรรม อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นที่ตนเองได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยต้องสื่อถึงเรื่อง พลังงาน
                               การประดิษฐ์รถพลังลูกโป่ง
การประดิษฐ์รถพลังลูกโป่ง


รถพลังลูกโป่ง


กิจกรรมนำเสนองานวิจัย
  • เลขที่ 4 เรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวณการทางวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัยของคุณชยา พยุวงค์


Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น
  • กล้าแสดงออก
  • คิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์


Adoption( การนำไปใช้)
    นำตัวอย่างของเล่นต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไปได้


classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
       สนุกสนาน  ตื่นเต้นกับสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ


Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
       เตรียมตัวในการนำเสนอได้ดี แต่ของเล่นที่ทำมาซ้ำกับของเพื่อน

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
       เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)
       เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย   มาก่อนเวลาสอน