วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 9 Tuesday, October 13, 2558

Diary No. 9
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, October 13, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

            สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้

        1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

        2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน 
         3)ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่นฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ  
        4)สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก  
                                              

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
  • แบ่งกลุ่มสรุปเนื้อหาจากสาระที่ควรเรียนรู้  ได้หัวข้อเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก   เลือกหน่วยบ้าน 

หน่วยบ้าน
เรื่องบ้านเเบ่งเป็นหัวข้อได้เเก่
1.สมาชิก

  • มีพ่อ    
  • มีแม่ 
  • ฉัน
  • ปู่ ย่า
  • ตา ยาย
  • ลุง ป้า
  • น้า อา

 2.ประเภท

  • แบบทาวเฮาส์สองชั้น 
  • บ้านเดี่ยว

3. ลักษณะ 
  •  สี
  •  ขนาด ( เล็ก กลางใหญ่ )
  • ส่วนประกอบ  (หลังคา ประตู หน้าต่าง บันได ฯลฯ )
  • ห้องต่างๆ ภายในบ้าน ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ หัองครัว ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น
  • รูปทรง  ( สามหลี่ยม  สี่เหลี่ยม )
  • จำนวนชั้น  ( 2 ชั้น, 3 ชั้น, 4 ชั้น)
4.การดูเเล 

  • กวาดพื้น (ไม้กวาด), 
  • ถูกพื้นห้องสกปรก (ไม้ถูพื้น),
  •  เช็ดฝุ่นสิ่งสกปรก  (ผ้าขี้ริ้ว)

 5.ประโยชน์
  • พักผ่อน
  • อยู่อาศัย
  • บังแดดบังฝน
6.ข้อพึงระวัง
  • บันไดต่างระดับระวังสะดุุดล้ม

*ทำของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบ้าน ดังนี้
  1. ของเล่นใช้ในการทดลอง : บ้านลูกโป่ง
  2. ของเล่นเข้ามุม : บ้านไฟฉาย
  3. ของเล่นเด็กประดิษฐ์ได้เอง :  พัดมายากล
กิจกกรมนำเสนอวิจัย
  • เลขที่ 5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวณการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่6 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กิจกกรมนำเสนอโทรทัศน์ครู

  • เลขที่7 แรงตึงผิว
  • เลขที่8 สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
  • เลขที่9 จุดประกายนักวิทยาศาสตร์





Skill (ทักษะที่ได้รับ )
การแสดงความคิดเห็น
การคิดสร้างสรรค์ผลงาน
การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
การสรุปความคิดรวบยอด

Adoption ( การนำไปใช้ )

นำความรู้ในการออกแบบของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปได้
 classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )
สนุกสนานกับการออกแแบบของเล่นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )
ตั้งใจเรียนและตั้งใจสรุปแผนผัง และออกแบบของเล่น

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจเขียนแผนผังและออกแบบของเล่นได้เป็นอย่างดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

สอนดี แนะนำลูกศิษย์ในการออกแบบของเล่นได้ดี โดยอาจารย์จะไม่บอกตรงๆแต่จะให้นักศึกษาค่อยๆคิดจนหาทางออกได้ในที่สุด

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น