วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ เรื่อง สอนลูกเรื่องหิน (Teaching Children about Rocks) Diary No. 3 Tuesday, August 25, 2558




  Diary No. 3
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, August 25, 2558
Time 13.30 - 17.30 .
      

สรุปบทความ
เรื่อง สอนลูกเรื่องหิน (Teaching Children about Rocks)


                การสอนลูกเรื่องหิน (Teaching Children about Rocks) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับของแข็งที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการผสมของแร่ธาตุชนิดต่างๆ หรือแร่ธาตุกับซากสัตว์ดึกดำบรรพ มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน แตก ต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ หิน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่คนเรานำมาใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในสี่งที่จำเป็นของชีวิตคนเรา และนำมาใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆอีกมากกมาย หินจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก ครูจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องหินให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์  สามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้ดังนี้ คือ


  1. ด้านร่างกาย เด็กได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก คือ นิ้วมือ หยิบจับก้อนหิน ได้ปีนป่ายบนก้อนหินก้อนใหญ่ ได้กระโดดข้ามก้อนหิน หรือ กระโดดไปมาบนหินก้อนใหญ่ กว้าง เรียบ เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทำงาน เพื่อสมองเด็กจะได้ รับรู้ข้อมูลจากการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อใช้หินเป็นอุปกรณ์ จะช่วยการพัฒนาการทางกายเด็กพัฒนาไปได้ดี
  2. ด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กจะมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองความต้องการที่จะรู้เห็นโดยการสำรวจ ทดลอง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเขา คือก้อนหิน เด็กจะได้รับการอบรมสั่งสอนที่จะวางตนในการศึกษาหาความรู้ ได้รับการฝึกการคิด การตัดสินใจ รู้จักที่จะเลือกวิธีการแสวงหาความรู้ตามความสามารถของตนเอง
  3. ด้านสังคม เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตนเอง ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับก้อนหิน รู้จักทำงานกับเพื่อน (เล่น ทดลองหาคำตอบที่สงสัยเรื่องหิน หรือก้อนหิน) การที่เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมกับผู้อื่น จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบ คุณค่าของผู้อื่น และของตนเอง
  4. ด้านสติปัญญา การเรียนรู้เรื่องก้อนหิน จะต้องให้เด็กคิดหาคำตอบจากปัญหาที่ถาม ตามความเหมาะสมตามวัย เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดจากการสืบค้นเรื่องก้อนหิน จากการออกแบบสร้างสรรค์งานจากก้อนหิน จากการเล่นกับก้อนหิน และอื่นๆ

เมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมให้เรียนเรื่องหิน ซึ่งเป็นวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จะเกิดประโยชน์ต่อเด็กดังนี้
  • เป็นการช่วยให้เด็กได้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ได้รู้ข้อเท็จจริงเรื่องของ หิน ซึ่งเด็กเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน การที่เด็กได้โอกาสทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงแล้ว จะพัฒนาเกิดเป็นความรู้ และความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์เรื่องของก้อนหิน
  • ความรู้ ความเข้าใจเรื่องหิน จะส่งเสริมความชื่นชอบของเด็ก ทำให้เกิดความคงที่ของความรู้ ความเข้าใจ และความกระตือรือร้นให้กับเด็ก เด็กจะแสดงออกด้วยการพูด สนทนา ซักถาม และสืบค้นหาความรู้สืบต่อไป คือ ได้ไปสำรวจ ตรวจสอบ ทดลอง พัฒนาความสามารถในการคิด การถามอย่างง่ายๆได้
  • เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสและใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายเพื่อการสำรวจ จะทำเด็กได้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กทำงาน
  • เด็กจะได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากก้อนหิน หรือมีก้อนหินเป็นส่วนประกอบ

                    ก้อนหินมีประโยชน์ที่จะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กสำรวจ สัมผัส สืบค้น เด็กจะได้สาระเนื้อหา ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของก้อนหิน สร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีของก้อนหิน ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กของเด็ก และได้ฝึกใช้จิตนาการนำไปสู่การสร้างสรรค์ก้อนหิน
                   การส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กเจริญโตทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นสิ่งต้องกระทำให้แก่เด็กตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เป็นสิ่งจำเป็น การส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านโดยสอนเรื่องหิน จะสามารถทำให้เด็กพัฒนาได้เป็นอย่างดี



วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 2 Tuesday, August 18, 2558



 Diary No. 2
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran
Tuesday, August 18, 2558
Time 13.30 - 17.30 .


Story of subject (เนื้อหาที่สอน )


พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (Cognitlre derelopment)


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


  ความหมาย ความเจริญงอกงามด้านความสามารถทางภาษาและการคิดของแต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นมาจากการมีปฎิสัมพันธ์ interaction กับสิ่งแวดล้อม


- เริ่มตั้งแต่เเรกเกิด ผลของการปฎิสัมพันธ์จะทำให้รุ้จักตัวตน (self) เพราะตอนเเรกเกิดยังไม่สามารถแยกตน ออกจากสิ่งแวดล้อมได้


- การปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดเวลาและตลอดชีวิตทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล (eqilibricm)


กระบวนการปฏิสัมพันธ์ 

  1. - กระบวนการดูดซึม (asslimilation)- การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
  2. - กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation)- การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องเหมาะสมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมา
  3.  การปรับเข้าสู่ภาวะสมดุล -การปรับแนวคิดเเละพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะสมดุล
  • สรุป สติปัญญาเกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่สภาวะสมดุล


Skill (ทักษะที่ได้รับ )

- การสรุปองค์ความรู้ การสรุปองค์ความรู้ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้น

Adoption ( การนำไปใช้ )

-ทราบถึงพัฒนาการของสติปัญญา เราก็จะสามารถจัดกิจกรรมและวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมได้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

อุปกรณ์เทคโนโลยีพร้อม

Self-Assessment ( ประเมินตนเอง )

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน และตั้งใจตอบคำถาม

Teacher-Assessment (ประเมินครู )

สอนโดยใช้เทคโนโลยีได้ดี กระตุ้นให้นักศึกษาตอบ โดยไม่กดดัน

Diary No. 1 Tuesday, August 11, 2558


Diary No. 1
Science experiences management for early childhood
Instructor Jintana suksamran

Tuesday, August 11, 2558

Time 13.30 - 17.30 .

                       ( อ้างอิงมาจาก  บล็อกเกอร์ของ นางสาวปาริฉัตร ภู่เงิน  เนื่องจากลากิจ )

Story of subject  (เนื้อหาที่สอน )

          คุณครูบอกถึงเนื้อหารายวิชา เเละบอกข้อตกลงในรายวิชาเรียนการจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

*คุณสมบัติของบัณฑิต 6 ด้าน

  1. คุณธรรม
  2. ทักษะทางปัญญา
  3. เทคโนโลยี
  4. ความสัมพันธ์ทักษะทางสังคม
  5. การจัดการเรียนรู้
  6. ความรู้

 Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งได้ คำ 3 คือ
  1. เด็กปฐมวัย
  2. การจัดประสบการณ์
  3. วิทยาศาสตร์
เด็กปฐมวัย  
  • พัฒนาการ คือ  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับตัวมนุษย์ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคมอย่างเป็นลำดับขั้น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมจะมีลำดับขั้นตอนของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ โดยมีวุฒิภาวะเป็นตัวควบคุม โดยไม่ต้องเร่ง เมื่อร่างกายพัฒนาการถึงความสามารถทางด้านต่างๆ ก็จะเป็นได้เอง
  • ทำไมจึงต้องทราบพัฒนาการของเด็ก คือ  เพื่อจะได้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็ก
  • พัฒนาการมี 4 ด้าน  การจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์จะเน้นสติปัญญา 
  1. ร่างกาย
  2. อารมณ์
  3. สังคม
  4. สติปัญญา

  • สติปัญญา จะแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 
  1. ภาษา
  2. การคิด 
  • การคิด จะแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 
  1. การคิดแบบเชิงสร้างสรรค์ 
  2. การคิดแบบเชิงเหตุผล

  • การคิดแบบเชิงเหตุผล จะแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 

  1. วิทยาศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์

  • วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์
วิธีการเรียนรู้ของเด้กปฐมวัย คือ  เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  และการลงมือกระทำด้วยตนเอง

การจัดประสบการณ์
  • หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
  • เทคนิคการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
  • กระบวนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
  • ทฤษฎีการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
  • สื่อและสภาพแวดล้อมสนุนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
  • การประเมินผล
วิทยาศาสตร์

*สาระสำคัญ 4 ด้าน ทางวิทยาศาสตร์
  1. เกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. บุคคลเเละสถานที่เเวดล้อม
  3.  สิ่งต่างๆรอบตัว
  4. ธรรมชาติครอบครัว
*ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. ทักษะการสังเกต การสื่อความหมาย
  2. การจัดประสบการณ์
  3. หลักการจัดประสบการณ์
  4. เทคนิคการจัดประสบการณ์
  5. กระบวนการจัดประสบการณ์
  6. ทฤษฎีการจัดประสบการณ์
  7. สื่อและสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์
  8. การประเมิน

Skill  (ทักษะที่ได้รับ )

ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น

 Adoption  ( การนำไปใช้ )

ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน )

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศค่อนข้างเย็น

Self-Assessment (ประเมินตนเอง )

พลาดข้อมูลสำคัญ เนื่องจากลากิจ

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน )

เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment  (ประเมินครู )

เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน